กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้[1] กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาริมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2
วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
สังคมของอาณาจักรสุโขทัยในระยะแรกเป็นสังคมที่เรียบง่าย จำนวนของประชากรมีไม่มากนัก ทำให้พระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกันเปรียบเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะบิดา ทรงปกครองราษฎรเยี่ยงบิดาปกครองบุตร ประชาชนของอาณาจักรสุโขทัยให้การยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอยู่ในศีลธรรม ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาเป็นประจำ เช่น ทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม สร้างวัด ประกอบกับอาณาจักรสุโขทัยมีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งปรากฏข้อความในหลักศิลาจารึกที่ 1 ว่า “...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนา มีข้าว…” ประชาชนไม่มีการแก่งแย่งกัน ประชาชนมีความเสมอภาค มีสิทธิเสรีภาพ เท่าเทียมกันและได้รับความเป็นธรรมโดยทั่วหน้า แต่ระยะหลังจากสามรัชกาลแรกมาแล้ว สุโขทัยมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความสนิทสนมระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนและประชาชนกับประชาชนลดน้อยลง เพราะพระมหากษัตริย์มิได้ทรงอยู่ในฐานะบิดาที่คอยปกครองบุตรดังแต่ก่อน ชนชั้นและความสัมพันธ์ทางชนชั้น สังคมสุโขทัยมีชนชั้นต่าง ๆ หลายชนชั้นประกอบไปด้วย
1. พระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ที่มีฐานะสูงสุดในสังคม พระมหากษัตริย์สุโขทัยสามรัชกาลแรกมีคำนำหน้าชื่อว่า “พ่อขุน” แต่จะมีการเปลี่ยนแปลง หลังสมัยพ่อขุนรามคำแหง ใช้คำว่า พญา มาเรียกแทน พระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาทในการปกครอง ทำสงครามเพื่อป้องกันประเทศ พิพากษาคดี ทำนุบำรุงศาสนา บำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร
2. เจ้านาย ได้แก่ พระบรมวงศานุวงศ์ เป็นชนชั้นสูง ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองร่วมกับพระมหากษัตริย์และขุนนาง พระราชวงศ์ฝ่ายชายจะมีหน้าที่ในการบริหารและปกครอง เช่น ดูแลเมืองลูกหลวง ส่วนพระราชวงศ์ฝ่ายหญิงมีหน้าที่สำคัญ คือ การแต่งงาน เพื่อสร้างพันธมิตรทางการเมือง
3. ขุนนาง ได้แก่ บรรดาข้าราชการ ทำหน้าที่ช่วยเหhttp://pbn3.go.th/bkk/km2/index.php?option=com_content&view=article&id=65&Itemid=185
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)